Audiophile 101: Player
เครื่องเล่นหรือเครื่องอ่านข้อมูลมีความสำคัญมากในการเล่นเครื่องเสียง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ต้นทางที่แปลงสัญญาณจากแหล่งบันทึกข้อมูลต่าง ๆ อาทิ แผ่นเสียง แผ่น CD ไฟล์เพลง Digital ซึ่งแต่ละแหล่งข้อมูลก็มีการเข้ารหัสหรือการบันทึกจากกระบวนการที่แตกต่างกัน นักเล่นเครื่องเสียงที่อยู่ในช่วงอายุ 50 40 และ 30 ต่างมีความชื่นชอบหลงใหลและคุ้นชินในการใช้เครื่องเล่นที่ไม่เหมือนกันตามยุคสมัย และเป็นเรื่องน่าแปลกที่ว่าทำไมเครื่องเล่นแผ่นเสียงถึงยังมีลมหายใจอยู่ในปัจจุบัน ลองมาทำความรู้จักเครื่องเล่นแต่ละรูปแบบว่ามีความเป็นมามีความโดดเด่นอย่างไร
CD / SACD Player
เครื่องอ่านข้อมูลที่ถูกบันทึกลงในแผ่นดิสก์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในวงการเครื่องเสียง Hi–End นับตั้งแต่ยุคปลายยุค 80 เนื่องจากใช้งานง่ายไม่ต้องดูแลรักษามาก แผ่น CD ก็ผลิตออกมามากมาย แต่แผ่น Audiophile ที่บันทึกมาด้วยรายละเอียดระดับสูงหายาก จนกระทั่งในช่วงลอยต่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา CD หมดยุครุ่งเรืองภายหลังยุค Digital Disruptions การมาของ High-Res Audio ที่มีความระเอียดสูงกว่า CD ถึง 1 เท่าตัวพร้อมคุณสมบัติต่างๆ ที่หลากหลายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ที่นี้ลองมาดูความแต่ต่างระหว่างแผ่น CD กับ SACD ว่าแตกต่างกันอย่างไร
Compact Disc (CD)
แผ่นดิสก์ขนาดเล็กกะทัดรัดซึ่งวิวัฒนาการจาก Laser Disc ที่มีขนาดใหญ่ จากเทคโนโลยีต้นแบบที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Philips และ Sony ซึ่งเริ่มใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อปี 1982 CD เป็นรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลลงแผ่นดิสก์ การเขียนข้อมูลดิจิทัลด้วยแสงในการจัดเก็บและเล่นเท่านั้น (CD-DA) แต่ภายหลังถูกดัดแปลงสำหรับการจัดเก็บข้อมูล (CD-ROM) รูปแบบอื่น ๆหลายที่ได้ได้มาจากเหล่านี้รวมถึงเขียนครั้งเดียวเก็บเสียงและข้อมูล (CD - R) และการเขียนข้อมูลใหม่ (CD-RW) วีซีดี ซูเปอร์ วิดีโอคอมแพคดิสก์ (SVCD) Photo CD หรือ picturecd cd-i เป็นต้น ความละเอียดไฟล์เพลงจาก ซึ่ง CD จะอยู่ที่ (16bit/44.1kHz)
Super Audio CD (SACD)
ได้ถูกพัฒนาร่วมกันโดย Sony และ Philips เพื่อพัฒนาคุณภาพเสียงให้ดียิ่งขึ้น sacd สามารถนำเสนอเสียงรอบทิศทาง และการบันทึกรายละเอียดได้มากกว่า CD เล็กน้อย แต่งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2007 พบว่าไม่มีความแตกต่างในคุณภาพเสียงระหว่าง SACD และ CD ที่บันทึกมาจากต้นฉบับเดียวกัน แล้วความจริงมันเป็นอย่างไรกัน
ในเรื่องของคุณภาพเสียง SACD ให้เสียงดีกว่า CD เล็กน้อย หากเล่นจากชุดทดสอบเดียวกัน (Hi-end) เนื่องจากการบันทึก SACD ที่บันทึกจากต้นฉบับแบบ DSD (Direct Stream Digital) ซึ่งจะได้ Frequency Bandwidth ของไฟล์ประเภท DSD ที่มี Frequency Bandwidth กว้างกว่า CD พอสมควร (Sample Rate อยู่ที่ 1.4112MHz -2.8224MHz) ทำให้มีค่า Dynamic Range ที่ดีเยี่ยมในช่วง 0-20kHz โดยที่ Noise Floor ต่ำมากๆ ตอบสนองช่วงความถี่ไปได้ถึงระดับ MHz ทำให้เสียงที่ได้จาก SACD มีรายละเอียดและความชัดเจน โดยเฉพาะเสียงสูงมีความถี่เสียงมากกว่า CD
ทั้งนี้เนื่องจาก ชุดที่นำมาเล่นกับแผ่น SACD จำเป็นต้องตอบสนองความถี่เสียงได้กว้าง การจะฟังความแตกต่างระหว่าง CD กับ SACD จะต้องดู Frequency Response ของลำโพงด้วย ว่าสามารถตอบสนองความถี่เสียงแหลมได้มากกว่า30,000 Hz (30kHz) ถึงจะพอแยกความแตกต่างได้
SACD นั้นได้พับฐานการผลิตไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนแผ่น SACD ยังพอมีหลงเหลืออยู่ในตลาดบ้างเล็กน้อยเท่านั้น แถมแผ่น SACD ที่บันทึกจากต้นฉบับแบบ DSD (Direct Stream Digital) นั้นก็มีไม่มาก หากไปได้แผ่นที่บันทึกโดยนำ ต้นฉบับ(Master) ที่เป็น PCM 16/44.1 มาแปลงเป็น DSD คุณภาพเสียงจาก SACD ดีกว่า CD อยู่เล็กน้อย ส่วนคนที่มีทั้งเครื่องและแผ่น SACD ก็ถือว่าเป็นกำไรชีวิตที่คุณได้สัมผัสหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ของวงการเครื่องเสียง
CD Transport
เครื่องเล่น CD Transport จะมีลักษณะที่แตกต่างจาก CD / SACD ปกติ คือ ไม่มีกระบวนการแปลงสัญญาณกลับ (Playback) แต่จะนำสัญญาณดิจิตอลที่ได้จากการอ่านแผ่นส่งออกทางช่อง Output ไปยัง DAC (Digital to Analog Converter) เพื่อแปลงสัญญาณ Digital ให้เป็น Analog ก่อนที่จะนำส่งสัญญาณดังกล่าวผ่านการสร้างคลื่นความถี่เสียงผ่านอุปกรณ์อื่นๆ จนไปยังลำโพงเพื่อสร้างคลื่นความถี่เสียง สัญญาณที่ส่งออกต่อผ่าน S-PDIF, Optical, Coaxial เป็นต้น
ที่ต้องแยกภาค DAC ออกมาจากภาคถอดรหัสก็เพื่อคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น นักเล่นเครื่องเสียงสามารถหา DAC ได้เฉพาะเจาะจงในแบบที่ตัวเองต้องการ แทนที่จะใช้ภาค DAC ที่ติดมากับเครื่องเล่น CD แต่การ Matching อุปกรณ์ระหว่าง DAC กับ CD / SACD Player เพื่อให้เสียงที่ดีก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก บางที่เสียงอาจไม่ลงตัวเท่ากับภาค DAC ที่มีอยู่แล้วในเครื่องเล่น CD
Turntable เครื่องเล่นแผ่นเสียง
พอนึกถึง Turntable เครื่องเล่นแผ่นเสียง บ้างที่เรียกกันขำ ๆ ว่า “โต๊ะหมุน” ทำให้นึกถึงของสะสม และอดีตอันหอมหวานในวันวาน แต่ใครจะคิดว่า Turntable จะกลับมาได้ในยุคดิจิตอลแบบนี้ โลกมันหมุนกลับทิศหรือไร
Turntable ของเขาดีมีเสน่ห์
แค่รูปลักษณ์ของมันก็ดึงดูดให้หลงใหลเอาได้ง่ายๆ ถึงแม้มันจะยุ่งยากที่ต้องปรับตั้ง และยังต้องการการดูแลเป็นพิเศษ มันเหมาะสำหรับคนใจเย็น ที่ดื่มด่ำไปกับวิถีชีวิตแบบ Slow life ขั้นตอนนับตั้งแต่การหยิบจับแผ่น จนวางหัวเข็ม กว่าจะได้ฟังเสียงสวรรค์ก็มีลีลาอยู่หลายกระบวนท่า เสียงสวรรค์ที่ว่านั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในที่เรียกว่าเสียงแบบ analog (อะนาล็อก) ซึ่งไม่อาจหาฟังได้จากการเล่น CD และ Hi-Res Audio ได้เลย
ก่อนอื่นคงต้องขอเท้าความว่า Analog คือเทคโนโลยีการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิค โดยการรวมสัญญาณเสียงหลายคลื่นความถี่ (Amplitude) ในรูปคลื่นแบบ Sine wave สัญญาณ Analog มีลักษณะเป็นคลื่นต่อเนื่อง โดยมีลักษณะแตกต่างกับสัญญาณ Digital ที่มีลักษณะไม่ต่อเนื่อง เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกต้นฉบับหรือ Mastering นั้น (ผลงานเพลงเก่าๆ นับก่อนยุค 80) ถูกบันทึกบน Vinyl ในแบบ Analog เป็นการบันทึกด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าเกือบทั้งหมด เล่นได้ด้วยการอ่านข้อมูลแบบย้อนกลับ (Play black) ดังนั้นการฟังเพลงจากแผ่นเสียงคุณภาพสูง ก็คือการได้ฟังเพลงเทียบเท่าต้นฉบับนั้นเอง ซึ่งมีระดับความระเอียดจะเท่ากับ CD (16bit/44.1kHz)
เสียงสวรรค์ในแบบ Analog ที่ว่านั้นมีความไหลลื่น เนียนนุ่ม ไม่ชัดคมแข็ง ฟังสบายหู ให้อารมณ์แบบ Sentimental (ซาบซึ้งกินใจ) มากกว่าให้รายละเอียดเจาะลึกแบบการฟัง CD ประเภท Audiophile
หากคิดที่จะเล่น Turntable ต้องถามตัวเองก่อนว่าหลงรักมันมากแค่ไหน ชอบฟังเพลงเก่าๆ หรือไม่ เพราะการเล่น Turntable มันเหมือนการมีคนรัก อ่านแล้วอย่าพึ่งงงนะครับ เพราะ Turntable และแผ่นเสียงต้องการการดูแลรักษาเป็นพิเศษ แถมต้องมีทุนทรัพย์ทั้งค่าแผ่น ค่าหัวเข็ม(Cartridge) ค่าสาย Tonearm และการดูแลรักษาต่าง ๆ ถ้าใจไม่รักจริงอาจมีแยกทางกันกลางคั้น หรือไม่ก็เก็บไว้เป็นของแต่งบ้านเท่านั้นเอง
Turntable นั้นมีอยู่สองประเภทคือ Auto และ Manual
Auto คือ เมื่อเล่นแผ่นไปจนจบแล้วเครื่องจะยกโทนอารม์ (Tonearm) และหัวเข็ม(Cartridge) กลับไปโดยอัตโนมัติ
Manual คือ เมื่อเล่นแผ่นไปจนจบแล้วผู้ฟังต้องยกโทนอารม์ (Tonearm) และหัวเข็ม(Cartridge) กลับไปเอง แต่เสียงที่ได้จาก Manual ดีกว่า Auto พอสมควร
Speed ความเร็วในการหมุน
การเล่น Turntable ต้องมีการปรับตั้งเรื่อง Speed ความเร็วในการหมุน เครื่องเล่นส่วนใหญ่มีเพียง 2 speed คือ LP (long play) แผ่นขนาด 12 นิ้ว ตั้ง Speed ที่ 33.33 rpm. และแผ่น Single (แผ่นที่มีเพลงเดียว) ขนาด 7 นิ้วตั้ง Speed ที่ 45 rpm. ส่วน Speed ที่ต่างไปจากนี้ก็เป็นแผ่นครั่งโบราณใช้ Speed ที่78 rpm.
Amplifier ที่จะต่อกับ Turntable ต้องมีภาคขยาย Phono Pre Amp มาให้ หากไม่มี ต้องซื้อภาคขยาย Phono เพิ่ม ซึ่งมีสองแบบคือ MM (Moving Magnet ) และ MC (Moving coil) หัวเข็มแบบ MC มักจะสามารถนำสัญญาณจากร่องแผ่นเสียงได้ดีกว่า และให้การตอบสนองสัญญาณได้ดีกว่าหัวแบบ MM เพราะ ขดลวดที่มีมวลน้อยกว่าแม่เหล็ก ทำให้มันสามารถเคลื่อนไหวไปตามร่องสัญญานของแผ่นเสียงได้ง่ายกว่า ทำให้การเก็บรายละเอียดของเสียงที่ได้นั้น MC จะทำได้ดีกว่า MM
High-Resolution Audio ที่กำลังมาแรงและมาตรฐานใหม่ในปัจจุบัน
อุตสาหกรรมเพลงถือว่าเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ในระดับโลก นับตั้งแต่มี แผ่นไวนิล เทป จนกระทั่งแผ่น CD จนในที่สุดเข้าสู่ยุค Digital จากในช่วงแรกที่ต้อง Download ไฟล์เพลง High-Res ขนาดใหญ่มาเก็บไว้ใน Hard Drive ซึ่งต้องเสียเงินและใช้เวลาในการ Download แต่ปัจจุบันการฟังเพลงที่เรียกว่า Music Streaming เข้ามาแทนที่ด้วยการใช้ Apps สนับสนุนต่างๆ ไม่ว่าจะอุปกรณ์ หรือเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ทุกวันนี้เร็วพอที่จะสามารถฟังเพลงได้ตามความต้องการแบบสดๆ โดยไม่ต้องเอาเพลงมาเก็บไว้ในเครื่องอีกต่อไป โดยสมัครบริการ Music Streaming ในระดับ High-Resolution Audio ที่มีคุณภาพสูง อาทิ Tidal และ Amazon Music Unlimited เป็นต้น
High-Res Audio ให้คุณภาพเสียงที่มีรายละเอียดและช่วงความถี่เสียงที่กว้างกว่าเสียงที่บันทึกใน CD คุณภาพเสียงที่เหนือกว่าทำให้ผู้ฟังเข้าถึงรายละเอียดเสียงดนตรีแบบเดียวกับที่คุณได้ยินในสตูดิบันทึกเสียงหรือจากการแสดงสด (ในยุคที่บันทึกต้นฉบับแบบดิจิทัล) โดยคุณภาพของเสียงไม่ถูกลดทอนแต่อย่างใด (Lossless)
High-Res Audio ถูกบันทึกด้วยรายละเอียดตั้งแต่ 24bit/96kHz และ 192kHz/24bit โดยแปลงต้นฉบับอนาล็อคเป็นดิจิทัลที่เรียกว่า DSD (Direct Stream Digital) ซึ่งแบ่งนับ bit ที่เพิ่มขึ้นด้วยความเร็วที่ 2.8MHz หรือมากกว่า โดยเรียกว่า DSD 1bit/2.8MHz ซึ่งมากว่า CD (16bit/44.1kHz) เกิดจากการสุ่มจากต้นฉบับที่เป็นอนาล็อค โดยตัวเลขนับจากการสุ่มของเสียงต่อ 1 วินาทีซึ่งเรียกว่าความถี่มีหน่วยเป็น Hz. การแปลงเป็นดิจิตอลคือขั้นตอนการแบ่งนับสัญญาณเป็นตัวเลขฐานสอง ประกอบด้วย 1 และ 0 ซึ่งจะเรียกเป็น "bits" ยิ่งตัวเลข bits ที่สูงเท่าไรก็หมายถึงเสียงที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากเท่านั้น ดังนั้นการฟังเพลงจากไฟล์ที่ถูกเก็บในรูปแบบ ตัวเลข bits จึงต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาเล่นกลับให้เป็นสัญญาณอนาล็อก โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า DAC (Digital To Analog Converter) สรุปแล้วเราอาจเรียกการฟังเพลงแบบ High-Res Audio ก็คือการฝังเพลงแบบ Computer Music นั้นเอง
File เสียง High-Resolution Audio นามสกุลต่างๆ
Lossy Compression | |
MP3 | คือประเภทไฟล์เสียงที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการฟังเพลงบน Windows® มีความละเอียดอยู่ที่ (128-320 kbps) |
Lossless Compression | |
WAV | คือประเภทไฟล์เสียงที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ Windows® |
AIFF | คือประเภทไฟล์เสียงที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อคอมพิวเตอร์ Mac |
FLAC | ย่อมาจาก Free Lossless Audio Codec สามารถนำข้อมูลเสียงที่ถูกใส่รหัส (ถูกบีบอัด) มาถอดรหัสและทำให้กลับสู่สภาพเดิมได้ จึงถูกเรียกว่า "การบีบอัดแบบไม่สูญเสีย" |
ALAC | (Apple Lossless Audio Codec) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Apple Lossless” คือเทคโนโลยีการบีบอัดแบบไม่สูญเสีย |
DSD(DSF) | คือไฟล์ความละเอียดสูงในตอนแรกถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานบันทึกแผ่น DVD โดยใช้ข้อมูล DSF หรือที่ถูกเรียกถึงในชื่อ “DSD Disc” |
File เสียง High-Resolution Audio ที่นิยม
FLAC และ ALAC ทั้งสองฟอร์แมท จัดอยู่ในประเภท Lossless Codec ซึ่งผ่านการบีบอัดไฟล์ ทำให้ลดขนาดจากไฟล์ต้นฉบับแบบ Uncompressed ลงได้ 40% - 60% ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่การเก็บบนฮาร์ดดิสก์ไปได้มาก ฉะนั้นทั้งคู่จึงเป็นไฟล์เสียงที่ให้คุณภาพใกล้เคียงกับต้นฉบับ
![]() |
![]() |
![]() |
FLAC นั้น ใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ PCM รองรับความละเอียดสูงสุดที่ 24 bits และ Sampling Rate สูงสุดที่ 65,535HZ และรองรับการทำงานแบบ Multi-Channel
ALAC ก็ใช้การจัดเก็บข้อมูลแบบ PCM เช่นเดียวกันครับ รองรับ Multi-Channel เหมือนกับ FLAC ด้วย แต่สามารถรองรับความละเอียดสูงสุดได้ถึง 32 bits และ Sampling Rate สูงสุดที่ 384kHz ซึ่งมากกว่า FLAC ในการฟังเพลงแบบ Hi-Res Audio ในมาตรฐาน CD ที่ 24bits 48kHz ทั้งสองฟอร์แมท ก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานได้สบายๆ การใช้งาน FLAC และ ALAC ก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณเล่นบน Windows หรือ Android หรือ iOS เท่านั้นเอง เพราะทั้งสองนามสกุลให้คุณภาพเสียงดีพอ ๆ กัน
DSD ย่อมาจาก Direct Stream Digital ซึ่งมีความละเอียดสูงสุดในปัจจุบันเทียบเท่าต้นฉบับ DSD ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการแปลงเป็นไฟล์จาก PCM ด้วยอัตราสุ่มตัวอย่างเป็นเท่าทวีคูณของ 44.1kHz ที่ถูกคิดค้นโดย Sony และ Philips เพื่อมาแทนที่แผ่น CD โดยใช้ชื่อว่า Super Audio CD (SACD) แต่ไม่ประสบความสำเร็จด้านการตลาด
ซึ่งแต่เดิมการบันทึกเสียงต้นฉบับจะบันทึกเป็นสัญญาณ PCM (Pulse-code modulation) ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นโดย NHK กระจายเสียงและแพร่ภาพในประเทศญี่ปุ่นในปี 1967 เป็นการแปลงสัญญาณเสียงเพลงจากอะนาล็อกเป็นดิจิทัล ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยจำนวนบิตข้อมูลดิจิทัล 16 บิต ที่เรียกว่า ADC (Analog To Digital Converter) ในการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD หรือการเก็บไฟล์ในรูปแบบของข้อมูลดิจิทัลใน Hard Disk ระดับสัญญาณจะสัมพันธ์กับระดับความดังของสัญญาณเสียงต้นฉบับ เป็นระยะ ๆ ต่อเนื่อง ที่เรียกว่า Sampling โดยการวัดดังกล่าวจะเกิดขึ้น 44,100 ครั้งต่อวินาที เพื่อให้ได้ข้อมูลครอบคลุมครบทุกย่านความถี่เสียงที่คนเราสามารถได้ยินอย่างน้อย 20Hz-20kHz ซึ่งในการบันทึกจริงย่างความถี่สูงอาจบันทึกในช่วงความถี่ที่ไปกว้างไกลเกินกว่าความสามารถในการได้ยินของมนุษย์ อาจกว้างถึง 20Hz-30kHz เลยที่เดียว
การฟังเพลงในแบบ Hi-res Audio มีสองรูปแบบ คือ
1. Music Servers
2. Music Streaming
*ในภาพประกอบด้านซ้ายคือการเชื่อมต่อ Music Servers ด้านขวา คือ Music Streaming
Music Servers
คือ การเล่นเพลงจากไฟล์เพลงที่เก็บไว้ใน Hard Disk รูปแบบการฟังเพลงโดยใช้ไฟล์ที่ง่ายที่สุดคือ “การฟังเพลงผ่านคอมพิวเตอร์” โดยการควบคุมผ่านโปรแกรม Application หรือ App ที่ใช้ฟังเพลง อาทิ เช่น iTunes และ JRiver เป็นต้น เป็นการฟังเพลงจากไฟล์เพลงที่เก็บในฮาร์ดดิสไม่ว่าจะเป็น AAC หรือ โดยเล่นผ่านโปรแกรม หรือ App สามารถต่อผ่านลำโพงคอมพิวเตอร์เพียง 1 คู่
NAS
ย่อมาจากคำว่า Network Attached Storage เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล External Hard disk แต่ NAS จะใช้เก็บข้อมูลระบบเครือข่าย ซึ้งเป็น Open Source สามารถให้ใครก็ได้มาเชื่อมต่อเพื่อดึงข้อมูลผ่านสาย LAN หรือ Wifi ได้ตลอดเวลาหาก NAS นั้นยังเปิดอยู่ ซึ่งคล้ายกับ Cloud เพียงแต่ NAS เป็นระบบที่เราสามารถสร้างขึ้นใช้เองได้ ซึ่ง NAS ยังสามารถสั่งการทำงานผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือได้อีก ด้วย
Music Streaming
คือ การเชื่อมต่อเพื่อเล่นเพลงที่ถูกเก็บไว้บน Cloud Server ที่ผ่านการ Streaming มาจากผู้ให้บริการฟังเพลง High-Res Audio อาทิ Tidal และ Amazon Music Unlimited หรือไฟล์เพลงมาตรฐาน อย่าง Spotify, Deezer, Google Play หรือ iTunes Store เป็นต้น Network Player มักจะติดตั้งการเชื่อมต่อกับ AirPlay และ Wi-Fi รวมทั้ง USB DAC มาให้ด้วย ทำให้การฟังเพลงในแบบ Streaming ที่ผู้ฟังไม่จำเป็นต้องเตรียมอุปกรณ์จัดเก็บไฟล์เพลงไว้ใน Hard disk ให้สิ้นเปลื้องอุปกรณ์และเวลาที่ต้อง Download File ด้วยตัวเอง เพียงเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการฟังเพลงแบบ Streaming Services ซึ่งมีทั้งฟรีและเสียค่าสมาชิก ก็สามารถฟังเพลงไพเราะได้มากมายมหาศาลแล้ว โดยใช้ Smartphone ทั้งระบบ Android และ iOS ควบคุมการเล่นแทน Remote แต่คุณภาพโดยรวม การฟังเพลงแบบ Streaming ยังควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าการฟังเพลงจาก Hard disk หรือผ่าน NAS ดังนั้นการฟังเพลงในแบบ Streaming จึงเหมาะกับอุปกรณ์พกพา เช่นการฟังเพลงผ่าน Smartphone ด้วยหูฟัง และการฟังเพลงที่เน้นความสะดวกรวดเร็ว
"คุณภาพโดยรวม การฟังเพลงแบบ Streaming ยังควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าการฟังเพลงจาก Hard disk หรือผ่าน NAS"
อุปกรณ์ในการฟังเพลงในแบบ Hi-Res Audio
DAC (Digital to Analog Converter)
การฟังเพลง Hi-res Audio จะต้องผ่านอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ Digital to Analog Converter หรือ DAC เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณ Digital ให้เป็น Analog ที่รับมาจาก Computer Hard Disk และ USB ก่อนที่จะนำส่งสัญญาณดังกล่าวไปยัง Amp.
DAC ที่ดีจะแปลงสัญญาณโดยไม่สูญเสียงรายละเอียดแต่อย่างใด แต่ย่อมมีความต่างในแง่ของน้ำเสียงและสีสันที่เจือเข้ามาทำให้ DAC แต่ละรุ่นกลับมีบุคลิกเสียงแตกต่างกันออกไปในระดับที่ฟังออกได้ไม่ยาก ราคาของ DAC มีตั้งแต่ DAC สำหรับหูฟังหลักพันไปจนถึง DAC ระดับ Hi-End หลักล้าน
Network Player
เป็นอุปกรณ์ External DAC แบบ All-in-One หน้าที่หลักคือต่อฟังเพลงผ่าน Network ผ่านช่องต่อ Ethernet เพื่อเล่นเพลงที่ถูกเก็บไว้บน Cloud Server ที่ผ่านการ Streaming มาจากผู้ให้บริการฟังเพลง High-Res Audio ไม่ว่าจะผ่านสาย LAN หรือไร้สายอีกด้วย ไม่ว่าจะผ่านเข้าทาง AirPlay ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS, หรือ Android รวมถึงผ่าน Bluetooth ได้อีกด้วย
นอกจากนั้นยังนำ Network Player ต่อเข้ากับอุปกรณ์อ่านข้อมูลดิจิทัลได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น CD Player ไปจนถึง Blu-Ray Player โดยผ่านช่อง digital input ที่มีมาให้หลากหลาย อาทิ Optical และ Coaxial รองรับสัญญาณได้สูงสุดถึงระดับ 24/192 สำหรับเล่นเพลงจากคอมพิวเตอร์ผ่านช่อง Input แบบ USB Type B และรองรับไฟล์ DSD ด้วย
นอกจากอุปกรณ์ต่างๆแล้ว ตัวกลางในการเชื่อมต่อจำพวกสาย USB ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
บทสรุปในการเลือกเครื่องเล่นและแหล่งเพลงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น CD Vinyl หรือ Hi-Res Audio นั้นขึ้นอยู่กับรสนิยมและความเหมาะสมสะดวกสบาย ซึ่งก็ล้วนแต่สร้างอรรถรสในการฟังที่ผ่อนคลายเพลิดเพลิน เพลงอาจช่วยให้ย้อนระลึกถึงวันวานและความทรงจำดี ๆ หรือสร้างแรงบันดาลใจต่าง ๆ มากมาย สุดท้ายหวังว่าการฟังเพลงจะช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นและมีความสุขมากขึ้นในโลกส่วนตัวของการฟังเพลง
แบบทดสอบการฟังเพลง Hi-Res Audio โดยทดลองฟังผ่าน DAC (Digital to Analog Converter) และไม่ผ่าน DAC
โดยควรทดสอบกับลำโพงหรือหูฟังและสาย USB คุณภาพสูง
Click Here
บทความ โดย A.Raphael update 18/05/2020
|